ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 4

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System)

วันที่ 15 กรกฎาคม 2564

1. กิจกรรมการเรียนออนไลน์ มีดังนี้ครับ เข้าเรียนในระบบอีเลิร์นนิ่ง (http://elearning.yru.ac.th) กิจกรรมดังนี้

          1.1 กิจกรรมอภิปราย (Discuss) : แนวโน้มของการเรียนออนไลน์ ในบทที่ 1

          1.2 ทบทวนเนื้อหาบทที่ 2

          1.3 ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) บทที่ 2

          1.4 เตรียมตัวเล่นเกมส์ Kahoot ทบทวนความรู้บทที่ 1 (สะสมแต้มแต่ละบท มีรางวัลคะแนนรวมสูงสุด Top 10) โดยให้เปิดเว็บ https://kahoot.it และรออาจารย์บอกรหัส และแนะนำขั้นตอนการเล่นในห้องประชุม ZOOM

           


          1.5 ให้นักศึกษาทุกคนเข้าห้อง Zoom Conference เวลา 9.00 น.

 

 


 


 

          1.6 จากนั้นได้มีการเรียนการสอน ในบทที่ 3 อีเลิร์นนิ่งและระบบจัดการ  โดยสรุปผลการเรียนรู้ประจำบท ซึ่งจะมีหัวข้อสำคัญดังนี้

            1.6.1 ความหมายของอีเลิร์นนิ่ง

            1.6.2 องค์ประกอบของอีเลิร์นนิ่ง

            1.6.3 ลักษณะสำคัญของอีเลิร์นนิ่ง

            1.6.4 ประเภทของบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง

            1.6.5 ข้อดีของอีเลิร์นนิ่ง

            1.6.6 ข้อจำกัดของอีเลิร์นนิ่ง

            1.6.7 ระบบจัดการเรียนรู้ (LMS)

            1.6.8 ระบบ Moodle LMS

            1.6.9 การจัดการระบบ Moodle LMS

โดยสรุปดังนี้

          การเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิ่ง หมายถึง การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางการสื่อสารการเรียนการสอน

โดยมีการกำหนดกิจกรรมการเรียน และการสอนที่ออกแบบด้วยวิธีสอนหลากหลาย มีการนําเสนอเนื้อหา สื่อแบบดิจิตอล การสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์ และการวัดประเมินผลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 

 

รูปแบบอีเลิร์นนิง

 

 

ที่มา  http://support.thaicyberu.go.th/research/e-Learning_Book.pdf

         

 

 

 

 

 

 

ระบบสนับสนุนการเรียน

ระบบสนับสนุนการเรียนอีเลิร์นนิง แบ่งเป็น 3 ระบบ คือ

          1. ระบบสนับสนุนการเรียนด้านเทคนิค (Technical support)

          2. ระบบสนับสนุนการเรียนด้านวิชาการ (Academic support)

          3. ระบบสนับสนุนด้านสังคม (Social support)

 

ข้อดีของการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง ที่สําคัญได้แก่

          1. ความยืดหยุ่น ความสะดวกสบายและการเข้าถึงข้อมูล

          2. ระยะเวลา การเรียนอีเลิร์นนิงช่วยประหยัดเวลา

          3. การเงิน และค่าใช้จ่าย การเรียนอีเลิร์นนิงช่วยผู้เรียนประหยัด

ข้อจํากัดการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง ที่สําคัญ ได้แก่

         1. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีซึ่งอาจจะไม่สามารถใช้ได้ในบางพื้นที่ของประเทศ

          2. การออกกลางคันระหว่างเรียนแบบอีเลิร์นนิง เนื่องจากผู้เรียนบางคนอาจอาจจะรู้สึกเหงา

และโดดเดี่ยวจากอาจารย์ผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้น

 

         ดังนั้น การเรียนแบบอีเลิร์นนิง อาจเหมาะกับสภาพการณ์ เหมาะกับผู้เรียน เหมาะกับสถาบันการศึกษาในบริบทที่ต่างกันไป ดังนั้นการเลือกที่จะจัดการเรียนแบบอีเลิร์นนิงในรายวิชา หลักสูตร และสถาบันการศึกษาในแบบใดนั้นควรมีการวิเคราะห์บริบทต่าง ๆ ในรอบด้านก่อนว่าจะมีการจัดการเรียนอีเลิร์นนิงในแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันต้องยอมรับว่าการเรียนโดยเพิ่มช่องทางการสื่อสารการเรียนรู้แก่ผู้เรียนนั้น เป็นวิธีที่เหมาะสมกับยุคสมัย และยังเอื้ออํานวยต่อบริบทของสังคมในขณะนี้เป็นอย่างยิ่ง

 

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาหารพื้นเมือง

ผลการเรียนรู้ครั้งที่10