หน้าแรก






ไปไม่รอด – ไปรอด – ไปได้ดี
ในชีวิตเราทุกคน เมื่อใดที่เราไปได้ไกลพอสมควรในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วหันมาเห็นว่า ใครหรือผู้ใด ไปไม่รอด(แล้ว) ในเรื่องเดียวกัน เราจะเห็นข้อผิดพลาดของเขาอย่างชัดเจน ยิ่งหากเรา “สำเร็จ” แล้ว เราจะยิ่งค้นพบว่าการแค่ “ไปรอด” หรือไม่เจ็บตัวในเรื่องนี้ มันจะมี หัวใจ หรือหลักการไม่กี่อย่าง และรู้สึกว่าไม่ได้ยากอะไร แต่กลายเป็นเป็นว่าเขาเหล่านั้น ไม่เชื่อ ไม่สนใจ

เห็นไหม! ไม่น่าเลย! บอกแล้วไม่เชื่อ! เป็นคำซ้ำเติม ที่บางที มันก็จริง..
หลายๆ เรื่องในชีวิต ถ้าไม่นับรวมภาวะ “ไม่กล้า” , “ไม่ลองทำ” แล้ว การทำไปเลยแบบไม่มีแผน หรือคิดได้เป็นระบบกระบวนการ (เช่นนี้ เปรียบได้ว่ามีแผนในหัวเหมือนกัน) มันไม่ไปไหนหรอก ถ้ามันเป็นเรื่องเล็กๆ เราก็มักแค่หัวเราะให้กับมันทำนองว่า “พลาดว่ะ, ผิดว่ะ ฮ่าๆ” ออกมาหรืออยู่ในใจ เพราะบางทีก็มีคนบอก เตือน แต่เราดื้อ ยอมรับไปแกนๆ บ้าง เชื่อบ้าง ได้ประสบการณ์ไปบ้าง แต่ถ้ามันเป็นเรื่องใหญ่ มันก็กลายเป็นยากจะยอมรับตัวเอง และอาจยังดื้ออยู่


ถ้ากลับกันเป็นอีกด้าน ในด้านที่เราเป็นฝ่ายมองเห็น หรือบอกกล่าว ตักเตือน ใดๆ ก็ตามกับคนอื่นๆ ที่เราคิดว่า มันไม่น่ารอด, ทำแบบนั้นไม่ได้, แบบนี้ไม่ถูก, คำพูดแนวว่า เห็นไหม! ไม่น่าเลย! บอกแล้วไม่เชื่อ! เป็นคำซ้ำเติม ทั่วไปแล้วไม่ควรพูด ไม่เกิดประโยชน์ ทั้งที่บางที มันก็จริง.. กับพวกนั้น หรือแม้แต่เราเองที่.. ไปไม่รอด

ไม่เคยเห็นผลดี เราก็ไม่เชื่อ ไม่ทำ มันก็เรื่องธรรมดา จึงเป็นที่มาของการวางแผน แต่ไม่ให้ความสำคัญ
โดยทั่วไปแล้ว ซึ่งต้องถือว่าเป็นบุคคลปกติ แม้กระทั่งตัวผมเอง นับสิบปีที่คิดว่าตัวเองเก่ง แต่ไม่เคยเข้าใจ โชคดีที่ไม่หลอกตัวเองไปตลอดชีวิตว่า การที่ผลลัพธ์ที่ยังไม่ดี เพราะการกระทำยังไม่ถูก หรือไม่ดีพอ จึงเปลี่ยนตัวเอง พัฒนาตัวเองเรื่อยมา “การวางแผน” ก็เป็นเรื่องหนึ่ง ที่แรกๆ ก็ไม่คิดว่าสำคัญ มันก็เป็นเรื่องปกติ อะไรที่เราคิดหรือทำแล้ว ไม่เคยเห็นผลดี เราก็ไม่เชื่อ ไม่ทำ มันก็เรื่องธรรมดา แต่บางทีได้ยินเขาว่า ได้เจอตำรา หรือรู้สึกเอาว่า มันก็ยังจำเป็นอยู่ มันต้องทำ ก็เลย(เหมือนจะ)วางแผนไปบ้าง จึงเป็นที่มาของการวางแผน แต่ไม่ให้ความสำคัญ

   cr.https://sirichaiwatt.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ผลการเรียนรู้ครั้งที่5

กิจกรรมจูงมือน้องสู่รั้วSTA